บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.40 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 น.
อาจารย์ให้ทุกทำงานของแต่ละหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษาและออกมานำเสนอแต่ละกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ภาษา
ความหมายของภาษา คือ ความคิด ความรู้ ความรู้สึก และกริยาอาการที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจกันได้ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ส่วนภาษาในความหมายอย่างแคบนั้น หมายถึง เสียงพูดที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันเท่านั้น
ความสำคัญของภาษา
ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ มนุษย์ติดต่อกันได้ เข้าใจกันได้ก็ด้วยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยที่ดีที่สุด
2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
2.ภาษาเป็นสิ่งช่วยยึดให้มนุษย์มีความผูกพันต่อกัน เนื่องจากแต่ละภาษาต่างก็มีระเบียบแบบแผนของตน ซึ่งเป็นที่ตกลงกันในแต่ละชาติแต่ละกลุ่มชน การพูดภาษาเดียวกันจึงเป็นสิ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน มีความผูกพันต่อกันในฐานะที่เป็นชาติเดียวกัน
3.ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ และเป็นเครื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมส่วนอื่นๆของมนุษย์ด้วย เราจึงสามารถศึกษาวัฒนธรรมตลอดจนเอกลักษณ์ของชนชาติต่างๆได้จากศึกษาภาษาของชนชาตินั้นๆ
4.มีระบบกฎเกณฑ์ ผู้ใช้ภาษาต้องรักษากฎเกณฑ์ในภาษาไว้ด้วยอย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ในภาษานั้นไม่ตายตัวเหมือนกฎวิทยาศาสตร์ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติของภาษา เพราะเป็นสิ่งที่มนุษย์ตั้งขึ้น จึงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัยตามความเห็นชอบของส่วนรวม
5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
5.ภาษาเป็นศิลปะ มีความงดงามในกระบวนการใช้ภาษา กระบวนการใช้ภาษานั้น มีระดับและลีลา ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆหลายด้าน เช่น บุคคล กาละเทศะ ประเภทของเรื่องฯลฯ การที่จะเข้าใจภาษา และใช้ภาษาได้ดีจะต้องมีความสนใจศึกษาสังเกตให้เข้าถึงรสของภาษาด้วย
กลุ่มที่ 2 แนวคิดทางภาษา
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม
ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
- การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
- การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
- การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
ฮอลลิเดย์ กล่าวว่า สภาพแวดล้อม รอบ ๆ ตัวเด็กเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ และการใช้ภาษาของเด็ก และการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เกี่ยวข้องจะทำให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาจาการเรียนรู้กับทุกสิ่งทุกอย่าง
กู๊ดแมน กล่าวว่า ภาษาเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก เด็กทุกคนต้องมีการเรียนรู้ภาษาที่เหมาะสม และใช้ภาษาเพื่อการเรียนรู้ จากแนวคิดพื้นฐานต่าง ๆ ของนักทฤษฎี นักการศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวนั้น เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวม เป็นการเรียนรู้ของเด็กที่เป็นไปโดยธรรมชาติจากการที่เด็กได้มีประสบการณ์ตรง ลงมือปฏิบัติจริง มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ได้ใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องกับการร่วมกิจกรรม ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาษา ทำให้อ่านออกเขียนได้ผ่านกระบวนการคิดและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีการพัฒนาภาษาอย่างต่อเนื่องโดยการเชื่อมโยงจากประสบการณ์ต่าง ๆ สู่ภาษาพูด ภาษาเขียนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ และการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองในที่สุด
การเรียนรู้ภาษาอย่างธรรมชาติแบบองค์รวมจึงเป็นปรัชญาแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจาก ประสบการณ์ตรงและได้ลงมือปฏิบัติจริงใน กิจกรรมต่าง ๆ และเป็นการเรียนรู้ผ่านการเล่น เด็กจะได้ซึมซับรับข้อมูลต่าง ๆ ทางภาษาจากการใช้ภาษาทั้งจากการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนจากการเล่น เด็กจะมีความรู้สึกสนุกสนานกับการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาภาษาได้อย่างดี ดังนั้นในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทางภาษาของเด็กโรงเรียนจึงควรจัดให้เหมาะสม สามารถสนองตอบต่อธรรมชาติและพัฒนาการตามวัยของเด็ก โดยจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เปิดโอกาสให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก ได้พูด ได้อ่าน ได้เขียนที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
กลุ่มที่ 3 พัฒนาการทางสติปัญญาแรกเกิด-2 ปี
การเรียนรู้ 0-1 ขวบทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์ :ถ้าหากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ :ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้อายุ 8 สัปดาห์ :ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน :ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน :ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้นอายุ 5 เดือน :ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน :ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน :ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้อายุ 9 เดือน :ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน :ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน :ทารกจะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน :เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
กลุ่มที่ 4 พัฒนาการด้านสติปัญญา 2-4 ปี
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม สรุป คือ ในช่วงนี้เด็กจะมีปฎิสัมพันธ์สนใจที่จะโต้ตอบสนทนา สนใจในสิ่งแปลกใหม่
กลุ่มที่ 5 พัฒนาาดารเด็กช่วง 4-6 ปี
เด็กวัย 4 -6 ปี มีความมั่นใจในตัวเองมาก เต็มไปด้วยความอยากรู้อยากเห็น สนใจสิ่งรอบตัวที่แปลกใหม่ ฝึกทักษะใหม่ๆ เพราะอยากทำอะไรให้สำเร็จทุกอย่าง ต้องการแสดงความคิดและแสดออกในสิ่งที่คิดซึ่งเต็มไปด้วยจินตนาการ อยู่ในระยะโครงสร้าง (Structure Stage) การรับรู้และการสังเกตของเด็กวัยนี้ดีขึ้นมาก เด็กจะคอยสังเกตการณ์การใช้ภาษาของคนรอบข้าง และทดลองใช้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางภาษา เด็กอายุ 4 - 6 ปี
- บอกชื่่อ นามสกุล และที่อยู่ได้
- รู้จักเพศของตัวเอง
- ชอบถามทำไม เมื่อไร อย่างไร และถามความหมายของคำ และมักเป็นคำถามที่มีเหตุผลมากขึ้น
- เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์ เด็กวัยนี้สามารถขยายคำศัพท์จาก 4,000 - 6,000 คำ และสามารถพูดได้ 5-6 ประโยคต่อคำ สามารถเล่าเรื่องซ้ำ 4 -5 ลำดับขั้น หรือ 4 -5 ประโยคในเรื่องหนึ่งได้
- เข้าใจคำถามง่ายๆ และตอบคำถามนั้นได้ แม้ในเด็กบางคนอาจจะยังพูดติดอ่าง แต่ก็สามารถแก้ไขได้
- ชอบเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นมาเอง ให้คนอื่นๆ ฟัง ทั้งพ่อแม่ คนรอบข้าง และเพื่อน
- คิดคำขึ้นมาใช้โต้ตอบกับผู้ใหญ่ได้
- มักให้ความสนใจในภาษาพูดของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคำแสลง หรือคำอุทาน
- ชอบเรื่องสนุก ตลก ชอบภาษาแปลกๆ ชอบฟังนิทานมาก และชอบฟังเพลง มักจะคอยฟังเวลาที่ผู้ใหญ่คุยกัน จดจำคำศัพท์ และบทสนทนาเหล่านั้น โดยเฉพาะคำแสลงหรือคำอุทาน
- สามารถบอกชื่อสิ่งของในภาพที่เห็นได้ หรือเล่าเรื่องที่พ่อแม่เคยอ่านให้ฟังได้ และจะเล่นเป็นสุนัข เป็ด หรือสัตว์ต่างๆ ในเรื่องนั้น พร้อมทำเสียงสัตว์เหล่านั้นประกอบได้
- สับสนระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องเล่าในหนังสือเด็ก
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ
เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา (Schemata) เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี 2 อย่างคือ1. การขยายโครงสร้าง (Assimilation) คือ การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2. การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation) คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่
ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทาง
สติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16)
เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37) ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น 4 ขั้นคือ
1. ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก หู ตา ต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage) อายุ 2 – 7 ปี เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ
2.1 ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น
2.2 ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด
เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation) เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง3.ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage) อายุ 7 – 11 ปี เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป
4. ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage) อายุ 11 ปีขึ้นไป เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้
กลุ่มที่ 8 องค์ประกอบของภาษาทางด้านภาษา
ภาษาทุกภาษาย่อมมีองค์ประกอบของภาษา โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
เสียง : นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
พยางค์และคำ :พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น “ ปา”พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมาย :
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน
1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 15) ได้กล่าวถึง แนวในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในทศวรรษหน้าไว้ดังนี้
1. มีการจัดการเรียนรู้แบบหน่วยการสอน โดยไม่มีการแยกเป็นรายวิชาโดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนทุก ๆ ด้านเป็นสำคัญ โดยเน้นการเล่นเป็นหัวใจของการเรียนรู้
2. มีการพัฒนานำเอานวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและเลือกประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเด็ก
3. มีการจัดกิจกรรมการเล่นแบต่างๆบรรจุไว้ในกิจกรรมประจำวันเพราะ “การเล่น” เป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ซึ่งนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสิ่งต่างๆอีกด้วย
4. กิจกรรมที่จัดควรเน้นการปฏิบัติจริง เช่น การทำอาหาร ไปทัศนศึกษา เป็นต้น
เสียง : นักภาษาศาสตร์จะให้ความสำคัญของเสียงพูดมกกว่าตัวเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะภาษาย่อมเกิดจากเสียงที่ใช้พูดกัน ส่วนภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด คำที่ใช้พูดจากันจะประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์ แต่บางภาษาก็ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร อังกฤษ
พยางค์และคำ :พยางค์เป็นกลุ่มเสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง จะประกอบด้วย เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้
พยางค์แต่ละพยางค์จะมีเสียงพยัญชนะต้น ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่หน้าเสียงสระ พยางค์ทุกพยางค์จะต้องมีเสียงพยัญชนะต้น เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์ บางพยางค์ก็อาจมีเสียงพยัญชนะสะกดประกอบอยู่ด้วย เช่น “ ปา”พยัญชนะต้น ได้แก่ เสียงพยัญชนะ /ป/
เสียงสระ ได้แก่ เสียงสระ /อา/
เสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ เสียง /สามัญ/
ส่วนคำนั้นจะเป็นการนำเสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์มาประกอบกัน ทำให้เกิดเสียงและมีความหมาย คำจะประกอบด้วยคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
ประโยค
ประโยค: เป็นการนำคำมาเรียงกันตามลักษณะโครงสร้างของภาษาที่กำหนดเป็นกฎเกณฑ์หรือระบบตามระบบทางไวยากรณ์ของแต่ละภาษา และทำให้ทราบหน้าที่ของคำ
ความหมาย :
ความหมายของคำมี 2 อย่าง คือ
(1) ความหมายตามตัวหรือความหมายนัยตรง เป็นความหมายตรงของคำนั้นๆ เป็นคำที่ถูกกำหนดและผู้ใช้ภาษามีความเข้าใจตรงกัน เช่น
“ กิน” หมายถึง นำอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืนลงไปในคอ
(2) ความหมายในประหวัดหรือความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายเพิ่มจากความหมายในตรง เช่น
“ กินใจ” หมายถึง รู้สึกแหนงใจ
“ กินแรง” หมายถึง เอาเปรียบผู้อื่นในการทำงาน
กลุ่มที่ 9 หลักการจัดประสบการณ์ <ภาษาธรรมชาติ>
หลักการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นหลักสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ซึ่งผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาหลักสูตรให้เข้าใจ เพราะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กอายุ 3 - 5 ปี จะต้องยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูควบคู่กับการให้การศึกษา โดยต้องคำนึงถึงความสนใจและความต้องการของเด็กทุกคนทั้งเด็กปกติ เด็กที่มีความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา รวมทั้งการสื่อสารและการเรียนรู้หรือเด็กที่มีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ หรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส เพื่อให้เด็กพัฒนาทุกด้านทั้งด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาอย่างสมดุล โดยการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย บูรณาการผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เป็นประสบการณ์ตรงผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กกับพ่อแม่เด็กกับผู้เลี้ยงดูหรือบุคลากรที่มีความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย เพื่อให้เด็กแต่ละคนได้มีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นตอนของพัฒนาการสูงสุดตามศักยภาพและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข เป็นคนดีและคนเก่งของสังคม และสอดคล้องกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนา สภาพทางเศรษฐกิจ สังคมโดยความร่วมมือจากบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาประถมศึกษาแห่งชาติ (2540 : 23) ได้กล่าวถึง หลักการจัดกิจกรรมที่คำนึงถึงตัวเด็กแต่ละคนซึ่งมีความสนใจแตกต่างกันจึงควรให้มีกิจกรรมหลายประเภทให้เหมาะสมกับวัย ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก และจัดให้มีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กได้ทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ควรเปิดโอกาส ให้เด็กได้ริเริ่มกิจกรรมด้วย ตนเองกิจกรรมที่จัดมีความสมดุล คือ ให้มีทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียนกิจกรรมที่เคลื่อนไหวและสงบ ที่เด็กริเริ่ม และครูริเริ่ม ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัยมีการยืดหยุ่นได้ตามความต้องการและความสนใจของเด็กควรเน้นสื่อของจริงได้มีโอกาสสังเกต สำรวจ ค้นคว้า ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเองมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่นๆ และผู้ใหญ่การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยจะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเกิดการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา หลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช2546 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลและวิธีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3. พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นและกิจกรรมที่เมาะสม
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
5. ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 : 15) ได้กล่าวถึง แนวในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในทศวรรษหน้าไว้ดังนี้
1. มีการจัดการเรียนรู้แบบหน่วยการสอน โดยไม่มีการแยกเป็นรายวิชาโดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนทุก ๆ ด้านเป็นสำคัญ โดยเน้นการเล่นเป็นหัวใจของการเรียนรู้
2. มีการพัฒนานำเอานวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัยมาใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและเลือกประสบการณ์และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้กับเด็ก
3. มีการจัดกิจกรรมการเล่นแบต่างๆบรรจุไว้ในกิจกรรมประจำวันเพราะ “การเล่น” เป็นหัวใจของการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้ซึ่งนำไปสู่การคิดแก้ปัญหาและการสร้างสิ่งต่างๆอีกด้วย
4. กิจกรรมที่จัดควรเน้นการปฏิบัติจริง เช่น การทำอาหาร ไปทัศนศึกษา เป็นต้น
5. ให้เด็กเลือกกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และตั้งเป้าหมาย ฝึกสร้างให้คิดกล้าคิด กล้าทำ การคิดริเริ่มและพัฒนาการเป็นตัวของตัวเอง
คลิกตรงนี้เพื่อดู วีดีโอประกอบการนำเสนอ ภาษาธรรมชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น