Results

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

 

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 16 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .


วันนี้อาจารย์ให้ทำ Mymapping เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย.....


ผลงานสำเร็จ
สิ่งที่ได้จากรายวิชานี้ : เป็นความรู้ที่เกินจะบรรยายหมด หากอยากรู้ก็ดูในบันทึกการเรียนครั้งก่อนหน้า
                                        ค่ะ.....
ช่วงท้ายคาบ : อาจารย์ได้ติวแนวข้อสอบปลายภาค



วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

 

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 15 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.



เวลาเข้าสอน 13.12 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .


วันนี้เรียนอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มให้เท่าๆกันและให้ช่วยกันเขียนแผนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย ได้ตามจินตนาการของแต่ละกลุ่มโดยทำตาามแบบฟอร์มนี้



ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นแรก อาจารย์แจกอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ


ขั้นที่สอง ขั้นลงมือปฏิบัติเขียน MAPPING 
เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ของสมาชิกภายในกลุ่ม

ขั้นที่สาม ช่วยกันแสดงความคิดเห็นใน
การเขียนแผนการสอนตามแบบฟอร์ม
ที่อาจารย์ให้มาในข้างต้น

ผลงาน แบบสำเร็จรูปทั้ง MAPPING และแผนการสอน

สุดท้ายให้แต่ละกลุ่มนำผลงานของตนเอง
ออกมาPresent

สิ่งที่ได้รับในวันนี้
  การเขียนแผนการสอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ  สำหรับคนที่ประกอบอาชีพครูเลยก็ว่าได้  ดังนั้นเราควรที่จะฝึกเขียนไว้ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในอนาคตภายภาคหน้า ดังนั้นการเขียนแผนเป็นภารกิจสำคัญของครูผู้สอน ทำให้ผู้สอนทราบล่วงหน้าว่าจะสอนอะไร เพื่อจุดประสงค์ใด สอนอย่างใด  ใช้สื่ออะไร และวัดผลประเมินผลโดยวิธีใดเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอน


 ประโยชน์ของแผนการสอน
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีสอนวิธีเรียนที่มีความหมายยิ่งขึ้น เพราะเป็นการจัดทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง 
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน ทำให้สอนได้ครบถ้วนตรงตามหลักสูตร และสอนได้ทันเวลา
3. เป็นผลงานวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตัวอย่างได้
4. ช่วยให้ความสะดวกแก่ครูผู้มาสอนแทนในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้

                                                      

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

 
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 14 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.05 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .


วันนี้เรียนอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 7 กลุ่มให้เท่าๆกันและให้ช่วยกันออกแบบมุมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ได้ตามจินตนาการของแต่ละกลุ่ม

ขั้นแรก อาจารย์แจกอุปกรณ์ในการผลิตสื่อ

ขั้นที่สอง ขั้นลงมือปฏิบัติ

ผลงาน มุมแบบสำเร็จรูป

สุดท้ายให้แต่ละกลุ่มนำผลงานของตนเอง
ออกมาPresent ว่าส่งเสริมทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยวัยอย่างไร

สิ่งที่ได้รับในวันนี้
   การออกแบบสื่อ ถือเป็นการวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
1.ทำให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
2. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน 
3. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง 
4. นำประสบการณ์ในห้องเรียนมาให้นักเรียนในห้องเรียนในอนาคตได้




วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่13

บันทึกอนุทิน

 
วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 13.10 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .

วันนี้เรียนเรื่องการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ให้เพื่อนๆออกมาทำกิจกรรมแสดงท่าทางพอทำเสียงสัตว์ให้เพื่อนในห้องทาย

สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือเด็กจะได้ภาษาจากการสื่อสาร ท่าทาง เสียง

กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้ให้รูปภาพมาแล้วให้วิเคราะห์ว่าเป็นเช่นไรต่อพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็ก
สรุปคือ คนเราเดี๋ยวนี้ใช้ภาษาไม่ถูกต้องชัดเจน
ดังนั้นเราบุคคลที่จะไปเป็นครูในอนาคตควรที่จะใช้ภาษาให้ถูกต้อง

การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
-สร้างสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กให้คุ้นเคยและควรใช้แบบองค์รวม
-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษามากเกินไป

หลักการ

-สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เหมาะกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กกลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะได้ซึมซับผ่านการเล่นผ่านความสนุกสนาน เด็กต้องใช้การสังเกต ตั้งสมมุติฐาน ให้เด็กเกิดความสงสัย
-ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับเเพื่อน ครู โดยการทำงานเป็นกลุ่ม เด็กควรได้สื่อสารทั้ง 2 ด้าน ทั้ง ถามและตอบ
-สิ่งแวดล้อมเราควรเน้นเด็กให้มีความหมาย เด็กต้องรู้ว่ามุมๆนั้นคืออะไร และควรยอมรับการสื่อสารของเด็ก เพราะเด็กอาจสื่อสารผิดๆ
-สิ่งแวดล้อมรอบห้องไม่ควรจำกัดแค่คำพูด แต่เราควรคำนึงถึงอย่างอื่นด้วย เช่น การเล่น การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการจัดที่หลากหลาย (หน้าที่ของครู คือ คอยส่งเสริมหลายรูปแบบ)

 มุมประสบการณ์ทางการเรียนรู้  สาระทางภาษา
-หนังสือ ควรมีชั้นวางที่เหมาะสมกับวัย บรรยากาศเงียบสงบ มีพื้นทีทั้งแบบตามลำพังและแบบกลุ่ม มีอุปกรณ์ครบ เช่นอุปกรณ์การเขียน
-บทบาทสมมุติ ควรมีสื่อที่สามารถให้เด็กเข้าเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ 
-มุมศิลปะ ควรจัดอุปกรณืที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี ยางลบ กระดาษ เพื่อให้เด็กสร้างงานจาากจินตนาการของเขา
-มุมดนตรี มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของจริงและของเล่น เช่น ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาจากเสียงของดนตรี

ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
-มีพื้นที่ให้เด้กทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก
-ทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลายเมื่อเข้าไปเล่น
-บริเวณใกล้ๆควรมีอุปกรณืให้เด็กในการออกแบบ
-เด็กต้องมีส่วนร่วมและวางแผนในการจัดมุมนั้นด้วย

ตัวอย่างมุมการเรียนรู้

สรุป คือ มุมทุกมุมสามารถส่งเสริมทักษะทางภาษาได้หมด 
เช่น มุมบล็อค อาจจะมีตัวหนังสือบนบล็อคก็ได้
 ตัวหนังสือนั้นก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาไปแบบไม่รู้ตัว

ช่วงท้ายคาบอาจารย์ให้คัดพยัญชนะไทย ก-ฮ

 
สิ่งที่ได้จากการคัดไทย ทำให้ได้ฝึกสมาธิในการเขียน 
และสามารถนำไปใช้ในอนาคตในวิชาชีพครูได้
โดยเฉพาะครูอนุบาลต้องเขียนตัวหนังสือสวยๆจะได้เป็นแบบอย่างให้กับเด็ก


วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 14.30 น. เวลาเข้าเรียน 13.00 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .


          วันนี้อาจารย์ไม่ค่อยว่างเนื่องจากติดภาระกิจขอลทางคณะ จึงได้สั่งงานไว้ ใให้แบ่งกลุ่ม 5 คนและให้แต่ละกลุ่มออกแบบสื่อการเรียนที่จะพัฒนาทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยออกแบบลงในแผ่นภาพพร้อมอธิบายสื่อ วิธีเล่น ประโยชน์ ด้วยการออกมานำเสนอหน้าห้อง
อุปกรณ์ในการผลิตสื่อ

ช่วยกันผลิตสื่อ

สื่อแบบสำเร็จ


ความร่วมมือและการทำงานของกลุ่มอื่นๆภายในห้อง




ภาพการนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้

1.การออกแบบสื่อการเรียนรู้ทำให้เราได้ประสบการณ์ในการทำสื่อ และเกิดกระบวนการทางความคิด
2.สามารถในไปประยุกต์ใช้ได้จริงในอนาคตข้างหน้า
3.สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ฝึกการทำงานร่วมกันกับเพื่อน
4.ทำให้สมองของเกิดการกระตุ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน


วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.30 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 .

วันนี้อาจารย์ให้ดูภาพ แล้วให้บอกว่าดูภาพแล้วให้วิเคราะห์ว่ามันเป็นภาพอะไรให้สื่อความหมายออกมา..

ภาพนี้มีความหมายว่า รักก็แล้ว แคร์ก็แล้ว ทำใจเหอะ!!

ภาพนี้มีความหมายว่า อีดอกจิก

ภาพนี้มีความหมายว่า หมาบ้างแก้ว

หัวข้อในการเรียน เรียนเรื่อง : สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

ความหมาย : วัสดุหรือวิธีการต่างๆ เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจทำให้เด็กมุ่งความสนใจมาที่ตัวเรา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนรูู้ทางภาษาหรือเครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกดปลี่ยนเนื้อหาประสบการณ์ แนวคิด ทักษะะ และเจตคติ

สื่อที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย : เด็กได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัส เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม จำได้ง่าย เร็ว  และนาน

ประเภทของสสื่อการสอน
       1.สื่อสิ่งพิมพ์ : ใช้ในระบบการพิมพ์ เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค ยกตัวอย่างเช่น หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ ป้ายต่างๆ  หรือแบบฝึกหัดสำหรับเด็ก
       2.สื่อวัสดุอุปกรณ์ : สิ่งของต่างๆ ที่เป็ทั้งของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ สมุด หุ่นมือ ถือว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง
       3.สื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ : สื่อที่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
       4.สื่อกิจกรรม : ฝึกปฏิบัติ ทักษะ ได้ใช้กระบวนการคิด ได้เผชิญสถานการณ์ เช่น การร้องเพลง การเล่นละคร บทบทาสมมุติสำหรับเด็ก
       5.สื่อบริบท : เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ เช่น ชุมชน ครอบครัว โรงเรียน วัฒนธรรม เด็กที่อยู่ในท้องที่ ที่แตกต่างกัน ก็จะมีสื่อบริบทที่แตกต่างกันออกไป

ช่วงท้ายคาบ : อาจารย์ให้ทำสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย....






สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้ :
1.ได้เรียนรู้ทักษะและวิธีการทำสื่อ เพิ่มอีก 1ชนิด
2.สามารถนำกิจกรรมนี้ไปกระตุ้นสมองของเด็กเพื่อเกิดพัฒนาการด้านสติปัญญา
3.นำไปจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้ฝึกคิด และออกแบบทางท่าตามใจชอบ
4.สามารถนำไปปรับใช้ ประยุกต์ใช้กับสื่ออื่นๆอีกได้หลายวิธีการตามความคิดและจินตนาการของแต่ละ
   บุคคล


วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556
 ครั้งที่ 10เวลาเรียน 13.10-16.40 น.


เวลาเข้าสอน 13.00 น. เวลาเข้าเรียน 12.50 น. เวลาเลิกเรียน 16.00 น.

กิจกรรมในวันนี้ : อาจารย์ให้นักศึกษาในห้องแบ่งกลุ่มออกเป็น 4กลุ่ม เนื่องจากวันนี้อาจารย์จะมีงานให้
                           ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่อง อาเซียน โดยงานที่จะให้ทำคือ ประดิษฐ์สื่อ มี4 แบบ
                           คือ หุ่นนิ้วมืออาเซียน ธงจับคู่อาเซียน ป๊อบอัปสัตว์อ้างปากอาเซียน และสุดท้าย
                           ธงอาเซียนแบบชักได้
  

กลุ่มดิฉันได้รับหมอบหมายการทำหุ่นนิ้วมืออาเซียน


อุปกรณ์ใการผลิตสื่อหุ่นนิ้วมืออาเซียน

ลำดับขั้นตอนในการทำ

1.แบ่งงากันในกลุ่มดิฉันได้รับมอบหมายในการทำนิ้วเพื่อนำไปติดกับตัวหุ่น

หมุนนิ้วให้พอดีกับนิ้ว
2.ช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจ 

ขั้นตอนในการทำ และความร่วมมือกันในกลุ่ม

 3.ผลงานที่ช่วยกันทำจนเสร็จอย่างสวยงาม




ความร่วมมือในการทำงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม

กลุ่ม ป๊อบอัปสัตว์อ้างปากอาเซียน

กลุ่ม ธงจับคู่อาเซียน

กลุ่ม ธงอาเซียนแบบชักได้

สิ่งที่ได้รับจากการทำกิจกรรมในครั้งนี้

1.ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนภายในกลุ่ม รู้จักการช่วยเหลือกัน
2.รู้จักการแบ่งงาน และทำงานตามหน้าที่ของตนเองตามที่ได้รับมอบหมายจนบรรลุเป้าหมาย
3.ได้มีความคิดสร้างสรรค์วนการสร้างงาน
4.รู้จักขั้นตอนและวิธีการทำหุ่นนิ้วมือ
5.ที่สำคัญได้รับความรู้ต่างๆทั้งจากกลุ่มตเองและกลุ่มเพื่อนในการประดิษฐ์สื่อแต่ละรูปแบบเพื่อนำไปใช้    ในอนาคตได้อีกอย่างไม่มีสิ้นสุด